- ช่องทางการติดต่อผู้บริหาร หมายเลขโทรศัพท์ 042-063016 ช่องทางการติดต่อโดยตรง หมายเลขโทรศัพท์ 0849524798
- โทรสาร. 042-063015
- 229 หมู่ 2 ตำบลเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม 48180
นายกองค์การบริหารส่วนตําบล
———————–
มาตรา ๕๘ ให้องค์การบริหารส่วนตําบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตําบลคนหนึ่งซึ่งมา
จากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร
ท้องถิ่น
มาตรา ๕๘/๑ บุคคลผู้มีสิทธิสมัครับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตําบลต้องมี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร
ท้องถิ่น และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(๒) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิก
สภาตําบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(๓) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตําแหน่งสมาชิกสภาตําบลสมาชิกสภา
ท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือเลขานุการหรือที่ปรึกษาของ
ผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทํากับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
มาตรา ๕6/1 มาตรา 57 มาตรา 58 และมาตรา 58/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตําบลและ
องค์การบริหารส่วนตําบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖
16
มาตรา ๕๘/๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลดํารงตําแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง และ
มีระยะการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา ๕๘/๓ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วน
ตําบลซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การ
บริหารส่วนตําบลตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมอบหมายได้ไม่เกินสองคน และอาจแต่งตั้ง
เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบลคนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐได้
มาตรา ๕๘/๔ รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
ต้องห้ามตามมาตรา ๕๘/๑
มาตรา 58/5 ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนตําบลเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาองค์การ
บริหารส่วนตําบลเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแถลง
นโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบล โดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผล
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตําบล
กรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลและรองประธานสภา
องค์การบริหารส่วนตําบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตําบลถูกยุบตามมาตรา ๕๓ หากมีกรณีที่สําคัญ
และจําเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สําคัญของราชการหรือราษฎร นายก
องค์การบริหารส่วนตําบลจะดําเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จําเป็นก็ได้เมื่อได้มีการเลือกประธานสภา
องค์การบริหารส่วนตําบลแล้ว ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเรียกประชุมสภาองค์การบริหาร
ส่วนตําบลเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายในสิบห้าวันนับแต่
วันที่มีการเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบล
การประชุมเพื่อแถลงนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลให้กระทําโดยเปิดเผย
โดยนายกองค์การบริหารส่วนตําบลต้องจัดทํานโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรแจกให้สมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนตําบลทุกคนที่มาประชุมด้วย
หากนายกองค์การบริหารส่วนตําบลไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วน
ตําบลได้ ให้นายอําเภอแจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลจัดทํานโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้สมาชิก
สภาองค์การบริหารส่วนตําบลทุกคนภายในเจ็ดวัน โดยให้นําวิธีการแจ้งคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ
ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่านายก
องค์การบริหารส่วนตําบลได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบลแล้ว
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลจัดทํารายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้
แถลงไว้ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นประจําทุกปี
คําแถลงนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลและรายงานแสดงผลการปฏิบัติงาน
ตามนโยบาย ให้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลด้วย
มาตรา 58/3 มาตรา 58/4 มาตรา 58/5 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วน
ตําบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔6
มาตรา 58/2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล (ฉบับที่ 6) พ.ศ.
๒๕52
17
มาตรา ๕๘/๖ นายกองค์การบริหารส่วนตําบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือ
ผู้ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตําบลมอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตําบลและมี
สิทธิแถลงข้อเท็จจริง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิ
ออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๕๘/๗ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของ
จํานวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปราย
ทั่วไปในที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตําบล เพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแถลงข้อเท็จจริง
หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหารองค์การบริหารส่วนตําบลโดยไม่มีการลงมติ
ญัตติตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลและให้ประธานสภา
องค์การบริหารส่วนตําบลกําหนดวันสําหรับการอภิปรายทั่วไปซึ่งต้องไม่เร็วกว่าห้าวันและไม่ช้ากว่าสิบ
ห้าวันนับแต่วันที่ได้รับญัตติ แล้วแจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลทราบ
การขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้ จะทําได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่ง
มาตรา ๕๙ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ
องค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล
ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
(๒) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล
(๓) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลและเลขานุการนายกองค์การ
บริหารส่วนตําบล
(๔) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตําบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(๕) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
มาตรา ๖๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลควบคุมและรับผิดชอบในการบริหาร
ราชการขององค์การบริหารส่วนตําบลตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตําบลและ
ลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตําบล
อํานาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ให้
เป็นไปตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมอบหมาย
ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การ
บริหารส่วนตําบลตามลําดับที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแต่งตั้งไว้เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มี
รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล
เป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคําสั่งใด แต่งตั้งให้นายก
องค์การบริหารส่วนตําบลเป็นกรรมการหรือให้มีอํานาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนทําหน้าที่
กรรมการหรือมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกองค์การบริหารส่วนตําบลในระหว่างรักษาราชการแทน
ด้วย
มาตรา 58/6 มาตรา 58/7 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔6
มาตรา 59 มาตรา 60 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔6
18
อํานาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่นายกองค์การบริหาร
ส่วนตําบลจะพึงปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติหรือคําสั่งใด หรือ
มติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติหรือคําสั่งนั้น หรือมติของ
คณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น ไม่ได้กําหนดในเรื่องการมอบอํานาจไว้เป็นอย่างอื่น นายกองค์การบริหารส่วน
ตําบลอาจมอบอํานาจโดยทําเป็นหนังสือให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน
นายกองค์การบริหารส่วนตําบลก็ได้ แต่ถ้ามอบให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลหรือรองปลัดองค์การ
บริหารส่วนตําบลปฏิบัติราชการแทน ให้ทําเป็นคําสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ
การปฏิบัติราชการแทนนายกองค์การบริหารส่วนตําบลตามวรรคห้า ต้องกระทําภายใต้
การกํากับดูแลและกรอบนโยบายที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลกําหนดไว้
มาตรา ๖๐/๑ ให้มีปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วน
ตําบลและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตําบลรองจากนายกองค์การบริหารส่วนตําบลและรับผิดชอบ
ควบคุมดูแลราชการประจําขององค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไปตามนโยบายและมีอํานาจหน้าที่อื่น
ตามที่มีกฎหมายกําหนดหรือตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมอบหมาย
มาตรา ๖๑ (ยกเลิก)
มาตรา ๖๒ (ยกเลิก)
มาตรา ๖๓ (ยกเลิก)
มาตรา ๖๔ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอําเภอ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๘/๑
(๕) กระทําการฝ่าฝืนมาตรา ๖๔/๒
(๖) ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๘๗/๑ วรรคห้า หรือมาตรา ๙๒
(๗) ถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
(๘) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลมีจํานวนไม่น้อยกว่าสามในสี่
ของจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียงเห็นว่านายกองค์การบริหารส่วนตําบลไม่สมควรดํารง
ตําแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร
ท้องถิ่น
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตําบลสิ้งสุดลงตาม(๔) หรือ (๕)
ให้นายอําเภอสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คําวินิจฉัยของนายอําเภอให้เป็นที่สุด
ในระหว่างที่ไม่มีนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลปฏิบัติ
หน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลเท่าที่จําเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันประกาศผลการ
เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตําบล
มาตรา 60/1 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔6
มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.๒๕๔2
มาตรา 64 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔6
19
มาตรา ๖๔/๑ รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) นายกองค์การบริหารส่วนตําบลพ้นจากตําแหน่ง
(๒) นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมีคําสั่งให้พ้นจากตําแหน่ง
(๓) ตาย
(๔) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายกองค์การบริหารส่วนตําบล
(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๘/๔
(๖) กระทําการฝ่าฝืนมาตรา ๖๔/๒
(๗) ถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
(๘) ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๙๒
ให้นําความใน (๑) (๒) (๓) (๔) (๖) และ (๗) มาใช้บังคับกับการพ้นจากตําแหน่งของ
เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบลด้วยโดยอนุโลม
ให้นําความในวรรคสองของมาตรา ๖๔ มาใช้บังคับกับกรณีรองนายกองค์การบริหารส่วน
ตําบลและเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบลด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๖๔/๒ นายกองค์การบริหารส่วนตําบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล และ
เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ต้องไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ เว้นแต่ตําแหน่งที่ดํารงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(๒) รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือ
รัฐวิสาหกิจนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชกาหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติกับบุคคลในธุรกิจการ
งานตามปกติ
(๓) เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่องค์การบริหารส่วนตําบล
นั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทําให้แก่องค์การบริหารส่วนตําบลนั้น หรือที่องค์การบริหารส่วน
ตําบลนั้นจะกระทํา
บทบัญญัต